ยินดีต้อนรับเข้าสู่องค์การบริหารส่วนตำบลบงตัน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่

แจ้งเรื่องร้องเรียนสายผู้บริหาร

ภารกิจผู้บริหาร




facebook

แบบสำรวจความพึงพอใจ





E-Learning

ศูนย์ดำรงธรมม





สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 08/06/2563
วันนี้
89
เมื่อวานนี้
612
เดือนนี้
4,541
เดือนที่แล้ว
6,766
ปีนี้
62,824
ปีที่แล้ว
90,437
ทั้งหมด
298,378
ไอพี ของคุณ
34.204.181.91

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

ส่วนที่ 1 สภาพทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลบงตัน

  1. ด้านกายภาพ

1.1 ที่ตั้งและอาณาเขต

องค์การบริหารส่วนตำบลบงตัน ตั้งอยู่ในเขตอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ พิกัดแผนที่ในระบบ WGS 84 พิกัด X : 465157 พิกัด Y : 1992223 ห่างจากที่ทำการอำเภอดอยเต่าไปทางทิศเหนือประมาณ 12 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ไปทางทิศใต้ประมาณ 115 กิโลเมตร องค์การบริหารส่วนตำบลบงตัน มีพื้นที่ประมาณ 41.63 ตารางกิโลเมตร หรือ 26,018.75 ไร่ มีหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ 7 หมู่บ้าน โดยมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียงดังนี้

ทิศเหนือ        ติดต่อกับ  องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแอ่น อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีแนวเขตเริ่มต้นที่จุดบรรจบถนน ฮอด-แม่ตืนบริเวณพิกัด MV 629945 ไปทางทิศเหนือตามลำห้วยแรด เชื่อมลำห้วยขัวแป้นที่พิกัด MV645971 ไปทางทิศใต้ตามลำห้วยขัวแป้น ผ่านบ้านป่าทบใต้ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตาล อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ไปตามลำห้วยแม่ตาล ผ่านบ้านเหล่ามะดัน สิ้นสุดที่บ้านหนองปู

ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตาล  อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่  โดยมีแนวเขตเริ่มต้นที่ บ้านหนองปู  บริเวณพิกัด  MV 672928ไปทางทิศตะวันออกตามลำห้วยแม่สิน ติดกับลำห้วยแม่ส้มผ่านไปทางทิศตะวันออกถึงบริเวณพิกัด MV 721919 ไปทางทิศใต้ตามลำห้วยแม่สินเชื่อมลำห้วยแม่ส้ม สิ้นสุดที่บริเวณพิกัด MV 720909 รวมระยะทางทิศตะวันออกประมาณ 8 กิโลเมตร

ทิศใต้           ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเดื่อ  อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่  โดยมีแนวเขตเริ่มต้นที่บริเวณพิกัด  MV 720909 ไปทางทิศตะวันตกตามห้วยแม่เหยียบหลวงเชื่อมห้วยแม่สาง ไปตามลำห้วยแม่สางทางทิศตะวันตก สิ้นสุดที่แม่น้ำปิง บริเวณพิกัด MV 639896 รวมระยะทางทิศใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร

ทิศตะวันตก    ติดต่อกับ  องค์การบริหารส่วนตำบลนาคอเรือ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่  โดยมีแนวเขตเริ่มต้นที่  แม่น้ำปิง  บริเวณพิกัด MV 639896  ไปทางทิศเหนือตามแนวกึ่งกลางแม่น้ำปิงระยะทางประมาณ12 กิโลเมตรวกเข้าห้วยแรดไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  บริเวณพิกัด MV 598935 ไปตามห้วยแรด ผ่านบ้านดงถ่าน  ตำบลบ้านแอ่น ข้ามถนน ฮอด-แม่ตืน  สิ้นสุดบริเวณพิกัด MV 629945  รวม ระยะทางประมาณ  18  กิโลเมตร

1.2 ลักษณะภูมิประเทศ  (Landform)

พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบงตัน มีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงโดยรอบชุมชนเป็นเนินมีภูเขาเตี้ยและเนินสูงสลับกัน มีทะเลสาบดอยเต่าซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำสุดอยู่ทางด้านตะวันตกของชุมชน  จากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้  ด้วยสภาพภูมิประเทศดังกล่าว ทำให้ในฤดูฝนมีน้ำฝนจำนวนมากไหลลงมาตามลำน้ำแล้วไหลลงสู่ทะเลสาบดอยเต่าอย่างรวดเร็ว

          1.3 ลักษณะภูมิอากาศ (Climate)

อยู่ในเขตภูมิอากาศแบบสะวันนา คืออากาศร้อน อุณหภูมิสูงตลอดปีในฤดูฝนมีฝนตกปานกลาง อุณหภูมิเฉลี่ย 24.85 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนอากาศร้อนจัดอุณหภูมิประมาณ 35-40 องศาเซลเซียส มี 3 ฤดูกาล คือ ฤดูฝน เริ่มกลางเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนตุลาคมได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ฤดูหนาว เริ่มกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและฤดูร้อน เริ่มเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนพฤษภาคม

 

 

       
   

แผนที่  แสดงที่ตั้งและอาณาเขต

องค์การบริหารส่วนตำบลบงตัน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่

 
 
   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.4 ลักษณะของดิน               

ลักษณะดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบงตัน จากข้อมูลของกรมพัฒนาที่ดินสรุปลักษณะดินเป็นดินตื้นถึงลึก  มีการระบายน้ำดีถึงดีเกินไป  พบในสภาพพื้นที่ลาดชันปานกลางถึงมาก  เช่น  เนินเขา หรือเทือกเขาต่าง ๆ จะพบชั้นหิน  เศษหินหรือศิลาแลง ภายในความลึก 50 เซนติเมตร จาก ผิวดิน ดินเนื้อละเอียด มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำหรือต่ำ ที่มา : กรมพัฒนาที่ดิน http://www.ldd.go.th 7 พฤษภาคม 2552

 

          1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ

          พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบงตันมีแหล่งน้ำสำคัญ ได้แก่

  1. แม่น้ำปิง เป็นแม่น้ำที่มีความยาวที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ ยาวประมาณ 600 กิโลเมตร มีน้ำไหลตลอดปี มีต้นน้ำมาจากอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ (ที่มา : นวลศิริ วงศ์ทางสวัสดิ์ “ภูมิศาสตร์กายภาพภาคเหนือของประเทศไทย” 2534.) ผ่านอำเภอแม่แตง อำเภอแม่ริม อำเภอเมืองเชียงใหม่ อำเภอสารภี อำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทองเรื่อยลงไปถึงอำเภอฮอดแล้วเข้าสู่อำเภอดอยเต่า ผ่านเข้ามาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบงตันด้านทิศตะวันตก ผ่านบ้านน้อย บ้านห้วยริน บ้านโท้งและบ้านหนองผักบุ้ง เป็นแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคที่สำคัญของตำบล เฉพาะในช่วงฤดูฝนจะมีระดับน้ำขึ้นถึงริมตลิ่งทุกปี บางปีมีฝนมากก็จะทำความเสียหายแก่พื้นที่ริมสองฝั่งลำน้ำ
  2. ลำห้วยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบงตัน ได้แก่ ลำห้วยแม่ตาล ผ่านบ้านเด่นป่าตัน บ้านหนองปูบ้านโท้งและบ้านหนองผักบุ้ง ลำห้วยแม่สาง ผ่านบ้านหนองผักบุ้ง ลำห้วยแม่ยุย
  3. 3. แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ได้แก่อ่างเก็บน้ำสาธารณะ บ้านน้อย 3 แห่ง บ้านหนองผักบุ้ง 2 แห่ง บ้านห้วยริน 2 แห่ง บ้านโท้ง 4 แห่ง บ้านหนองปู 2 แห่ง บ้านบงตัน 2 แห่ง

          4.สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย สถานีสูบน้ำฯบ้านหนองปู-บ้านหนองผักบุ้ง,สถานีสูบน้ำฯบ้านน้อย และสถานีสูบน้ำบ้านโท้ง-บ้านห้วยริน ซึ่งสูบน้ำจากแม่น้ำปิงเข้าสู่พื้นที่การเกษตร  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้

ป่าไม้ในพื้นที่ตำบลบงตัน เป็นป่าผลัดใบที่มีพันธุ์ไม้ในวงศ์ไม้ยางที่มีการผลัดใบขึ้นเป็นไม้เด่นในสังคมพันธุ์ไม้ที่เป็นดัชนีได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง และยางกราด พันธุ์ไม้เหล่านี้จะต้องเป็นไม้เด่นเหนือพันธุ์ไม้อื่นในสังคม โดยทั่วๆไปความหนาแน่นของต้นไม้น้อยกว่าป่าผสมผลัดใบ ป่าชนิดนี้มีไฟป่าไหม้เกือบทุกปี ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า สังคมพืชชนิดนี้ดำรงสภาพอยู่ได้โดยมีไฟป่าเป็นตัวกำหนด หากมีการป้องกันไฟป่าเป็นเวลานาน ป่าชนิดนี้จะเปลี่ยนไปเป็นป่าผสมผลัดใบ ถ้าสภาพดินเหมาะสม

 

 2.ด้านการเมือง/ การปกครอง

2.1 ประวัติความเป็นมา เขตการปกครอง

          ดอยเต่า เป็นถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของชาวถิ่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากชนเผ่าลัวะ ชาวถิ่นโบราณที่มีถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้ เดิมประชาชนดอยเต่าจะอาศัยอยู่สองกลุ่มใหญ่ ๆ สองบริเวณ คือ ลุ่มน้ำแม่หาด บ้านดอยเต่าเก่า บ้านไร่ บ้านโปงทุ่งเป็นต้นและลุ่มน้ำแม่ปิง บ้านแม่กา ท่าเดื่อ บ้านน้อย บ้านแอ่น เป็นต้น ส่วนภาษาถิ่นของชาวดอยเต่ามีสำเนียงและคำที่แตกต่างไปจากท้องถิ่นอื่นในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยกัน

          พื้นที่ของอำเภอดอยเต่าเดิมอยู่ในความปกครองของอำเภอฮอด แต่การคมนาคมติดต่อเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยเฉพาะเมื่อเขื่อนภูมิพล จังหวัดตากสร้างเสร็จ ชาวดอยเต่าส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำปิงกลายเป็นพื้นที่น้ำท่วม จึงต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ทางราชการจึงได้ประกาศฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอดอยเต่า เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2515 ต่อมาเมื่อมีประชากรมากขึ้น มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง กระทรวงมหาดไทย ได้มีพระราชกฤษฏีกายกฐานะขึ้นเป็นอำเภอดอยเต่า เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2522 ปัจจุบันมี 6 ตำบลและ 1 เทศบาล

ที่มา : เอกสารประวัติอำเภอดอยเต่า ห้องสมุดประชาชนอำเภอดอยเต่า, 2550 และ จากหนังสือพิมพ์ “ฅนเชียงใหม่” ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ 2551 หน้า 13

 

องค์การบริหารส่วนตำบลบงตัน เริ่มก่อตั้งเมื่อ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2539 ตามมาตรา 40  และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2539 มีเขตการปกครองเริ่มแรก 6 หมู่บ้าน ปัจจุบันมีเขตการปกครอง 7 หมู่บ้าน ประกอบด้วย

1.บ้านน้อย หมู่ที่ 1       2.บ้านโท้ง หมู่ที่ 2        3.บ้านหนองปู หมู่ที่ 3    4.บ้านหนองผักบุ้ง หมู่ที่4

5.บ้านบงตัน หมู่ที่ 5      6.บ้านห้วนริน หมู่ที่ 6    7.บ้านเด่นป่าตัน หมู่ที่ 7

 

 

 

2.2 การเลือกตั้ง

มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (ครั้งแรก) เมื่อวันที่  11  พฤษภาคม พ.ศ.2540 และได้เปิดประชุมสภาฯ (ครั้งแรก) ในวันที่  27  พฤษภาคม พ.ศ. 2540 ปัจจุบันมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมด 14 คน

 

 

  1. ประชากร

 

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนประชากร(คน)

ครัวเรือน

ชาย

หญิง

รวม

1

บ้านน้อย

422

420

842

281

2

บ้านโท้ง

223

241

464

183

3

บ้านหนองปู

670

659

1329

474

4

บ้านหนองผักบุ้ง

291

298

589

227

5

บ้านบงตัน

467

472

939

351

6

บ้านห้วยริน

132

143

275

103

7

บ้านเด่นป่าตัน

271

278

549

174

 รวม

2,476

2,511

4,987

1,793

 

ประชากรในพื้นที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ชนพื้นเมือง และชนเผ่ากะเหรี่ยงโปว์ โดยชนเผ่าพื้นเมือง อาศัยอยู่หมู่ที่ 1,2,4,6

 

  1. สภาพทางสังคม

         

4.1 การศึกษา

          ประชากรร้อยละ 75 สามารถอ่านออกเขียนได้ โดยมีสถานศึกษาประกอบด้วย

1.1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบงตัน จำนวน 3 แห่ง

- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านน้อย

- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบงตัน

- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปู

1.2 โรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย

          - โรงเรียนบ้านน้อยห้วยรินวิทยา (โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา)

- โรงเรียนบ้านบงตัน (โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา)

- โรงเรียนบ้านโท้งวิทยา

- โรงเรียนบ้านหนองผักบุ้ง

 

          4.2 การสาธารณสุข

          ในพื้นที่ตำบลบงตันมีสถานพยาบาล 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านน้อย และมีคลินิกผดุงครรภ์ จำนวน 2 แห่ง

         

4.3 อาชญากรรม

          ในพื้นที่ตำบลบงตัน มีการเกิดอาชญากรรมปริมาณน้อย ประชาชนอยู่ด้วยกันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันแบบสังคมชนบท

 

4.4 ยาเสพติด

          ในพื้นที่ตำบลบงตัน มีปัญหายาเสพติดอยู่บ้าง แต่ไม่มาก ซึ่งยาเสพติดส่วนใหญ่ เป็นประเภทเสพยาบ้า และผู้นำชุมชนได้กวดขันในการป้องปรามยาเสพติดอยู่เป็นประจำ

         

          4.5 การสังคมสงเคราะห์

          ปีงบประมาณ พ.ศ.2560 พื้นที่ตำบลบงตันได้จ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ติดเชื้อเอดส์ ครบทุกราย ซึ่งมีผู้สูงอายุได้รับเบี้ยยังชีพ จำนวน 766 คน  ผู้พิการ จำนวน 205 คน ผู้ติดเชื้อเอดส์ จำนวน 10 คน ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนตำบลบงตัน ได้สงเคราะห์ผู้ยากไร้ที่กระทบปัญหาทางสังคมเป็นประจำทุกปี และได้รับการสนับสนุนการสังคมสงเคราะห์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่เป็นประจำทุกปี

 

5.ระบบบริการพื้นฐาน

 

          5.1 การคมนาคม

องค์การบริหารส่วนตำบลบงตัน  สามารถติดต่อกับชุมชนภายนอกได้โดยการเดินทางรถยนต์จากจังหวัดเชียงใหม่ เดินทางไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ไปทางทิศใต้ ผ่านอำเภอหางดงอำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทอง จนถึงสามแยกอำเภอฮอด เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1103 (ฮอด-แม่ตืน) ต่อไปจนถึงองค์การบริหารส่วนตำบลบงตัน อำเภอดอยเต่า ระยะทางประมาณ 115 กิโลเมตร

ตาราง แสดงประเภทและจำนวนของถนน องค์การบริหารส่วนตำบลบงตัน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ( พฤษภาคม 2559)

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ประเภทและจำนวนของถนน(สาย)

ถนนลาดยาง

ถนน คสม.คสล.

ถนนลูกรัง

1

บ้านน้อย

5

3

6

2

บ้านโท้ง

2

6

2

3

บ้านหนองปู

2

6

7

4

บ้านหนองผักบุ้ง

9

8

3

5

บ้านบงตัน

5

9

9

6

บ้านห้วยริน

4

1

3

7

บ้านเด่นป่าตัน

5

6

8

 

รวม

32

39

38

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5.2 การไฟฟ้า

ประชาชนในพื้นที่ตำบลบงตันทุกครัวเรือน มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน ส่วนพื้นที่การเกษตรมีไฟฟ้าใช้ประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด

5.3 การประปา

ประชาชนในพื้นที่ตำบลบงตันทุกครัวเรือน มีน้ำประปาใช้ โดยเป็นน้ำประปาหมู่บ้านและหมู่บ้านบริหารจัดการกันเอง

5.4 โทรศัพท์

ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบงตัน มีเสากระจายสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบริษัท เอไอเอส , ดีแทค,แคช ซีดีเอ็มเอ ทรูมูฟเอช ซึ่งครอบคลุมทุกครัวเรือน

5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือขนส่งและวัสดุครุภัณฑ์

ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบงตันยังมีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขชั่วคราว ณ หน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านน้อยเปิดบริการวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00 – 10.00 น และมีบริหารอินเตอร์ชุมชน จำนวน 15 เครื่อง ตั้งอยู่ ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบงตัน และมีอินเตอร์เน็ตไร้สายจำนวน 14 จุด ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน 

 

 

  1. ระบบเศรษฐกิจ

          6.1 การเกษตร

          ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 95 ประกอบอาชีพเกษตรกร และรายได้หลักมาจากการจำหน่ายลำไย ส่วนการปลูกข้างโพด ข้าว พริก แตงโม ฟักทอง มีพื้นที่ปลูกบริเวณริมน้ำปิงเมื่อน้ำจากทะเลสาบแห้ง ซึ่งเป็นรายได้รอง

          6.2 การประมง

          การทำการประมงในน้ำปิง โดยเป็นประมงพื้นบ้าน มีประชาชนไม่ถึงร้อยละ 2 ที่ประกอบอาชีพประมงเป็นอาชีพเสริม

          6.3 การปศุสัตว์

          ประชาชนน้อยกว่าร้อยละ 1 ประกอบอาชีพเลี้ยงวัว ส่วนการเลี้ยงไก่ จะเลี้ยงในครัวเรือนเพื่อไว้บริโภคในครอบครัว

          6.4 การบริการ

         

ลำดับที่

หน่วยธุรกิจ

จำนวน(แห่ง)

1

ร้านค้า/ร้านอาหาร

66

2

ปั๊มน้ำมันขนาดกลาง

2

3

ปั๊มหลอด

3

4

โรงสีข้าว

1

5

ร้านรับซื้อและจำหน่ายปลาสด

1

6

ฟาร์มไก่/หมู

1

7

คลินิก

2

8

โรงรับซื้อลำไย

5

9

ตลาดนัด

3

10

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรี่ยงบ้านหล่ายแก้ว

1

11

น้ำดื่มหยอดเหรียญของหมู่บ้าน

7

 

          6.5 การท่องเที่ยว

          มีพุทธสถานดอยต๊อกเป็นจุดชมวิวทะเลสาบดอยเต่า และมีศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมกะเหรี่ยงบ้านหล่ายแก้ว ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลบงตัน ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรูปประเพณี วัฒนธรรมกะเหรี่ยง เช่นการย้อมผ้า การทอผ้า เป็นต้น

          6.6 อุตสาหกรรม

          ในพื้นที่มีอุตสาหกรรมขนาดเล็ก SME อยู่ 4 แห่ง คือ การผลิตวัสดุก่อสร้าง(เสาปูน ท่อคอนกรีต) 2 แห่ง การผลิตอิฐประสาน 1 แห่ง และการทอผ้าจำนวน 2 แห่ง

 

          6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

          ส่วนใหญ่เป็นร้านค้าขายของชำ ซึ่งเป็นธุรกิจครอบครัว และมีโรงรับซื้อลำไยสดจำนวน 6 แห่ง เพื่อส่งต่อไปยังโล้งขนาดใหญ่เพื่อการส่งออก ส่วนกลุ่มอาชีพในพื้นที่ เป็นการรวมตัวของประชาชนในพื้นที่ ที่ประกอบอาชีพทำการเกษตร เช่นกลุ่มทำอาชีพลำไย กลุ่มทำนา กลุ่มทำประมง เป็นต้น

         

          6.8 แรงงาน

          แรงงานเป็นประเภทแรงงานภาคเกษตร ร้อยละ 90 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งเป็นการรับจ้างทำการเกษตรทั่วไป ส่วนแรงงานภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม มีประมาณร้อยละ 5 ของประชากรทั้งหมด

 

  1. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

          7.1 การนับถือศาสนา

ประชาชน ทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ และมีการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธ์ เช่นการเลี้ยงเจ้าที่ การแก้บน เป็นต้น

7.2 การประเพณีงานประจำปี  

- งานสรงน้ำพระธาตุ ช่วงเดือน กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม

- งานสืบชะตาแม่น้ำลำห้วย ช่วงเดือน พฤษภาคม

- งานประเพณีลอยกระทง ช่วงเดือน พฤศจิกายน

- งานประเพณีปี๋ใหม่เมือง 13-15 เมษายน

7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

- ผ้าทอกะเหรี่ยงบ้านหล่ายแก้ว

- ภาษาที่ใช้ เป็นภาษาเมืองเหนือ และภาษากะเหรี่ยงโปว์ 3 หมู่บ้าน

7.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

- ผ้าทอกะเหรี่ยง

 

  1. ทรัพยากรธรรมชาติ

          9.1 น้ำ

มีน้ำปิงไหลผ่าน 4 หมู่บ้าน คือหมู่ 1,2,4,6 และมีห้วยแม่ตาลไหลผ่าน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ 3,4,5,7

 

9.2 ป่าไม้

ป่าไม้เป็นป่าเต็งรัง  และยังมีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีการอนุรักษ์ไว้

 

9.3 ภูเขา

มีภูเขาอยู่บริเวณทิศตะวันออกของตำบล

 

9.4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาติไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร เนื่องจากเป็นป่าเต็งรัง ซึ่งจะมีความแห้งแล้ง เกิดไฟป่าในช่วงฤดูแล้ง ทำให้ลำธารไม่มีน้ำในช่วงฤดูแล้ง